วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

อบรมผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ

ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสองแคว และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานพัสดุ เข้าอบรมตามโครงการอบรมผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ ณ สำนักงาน กศน.ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง ในวันที่  10- 12  มีนาคม 2558



วันสตรีสากล 2558

บุคลากร กศน.อำเภอสองแคว ร่วมงานวันสตรีสากล ในวันที่ 10 มีนาคม 2558 
ณ หอประชุมอำเภอสองแคว โดยมีนายอำเภอสองแควเป็นประธานในพิธี  





วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

การอบรม การจัดทำ Bloger รุ่นที่ 3

                                                 ภาพอบรม การจัดทำ Bloger กศน.รุ่นที่ 3

                                  วันที่  2 - 3  มีนาคม  2558  โดยสำนักงาน กศน.จังหวัดน่าน







VDO เกษตรธรรมชาติ กศน.อุ้มผาง


กิจกรรมเด่น (ฺBest practice)

                                                กิจกรรมเด่น (Best practice) กศน.อำเภอสองแคว

                                       กิจกรรมการปลูกพืชตามแนวทางเกษตรธรรมชาติ MOA 

1. บทนำ
สภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลกนี้ได้เป็นไปตามวัฏจักรชีวิตของตัวเองและทำหน้าที่ของตัวเองอย่างสมบูรณ์แล้วโดยการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมาช้านาน แต่ปัจจุบันสภาพความเป็นไปของธรรมชาติได้เกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากที่ผ่านมามนุษย์ได้ทำการหาประโยชน์ต่างๆจากธรรมชาติมากขึ้นโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาในภายหลัง ในการปลูกพืชหรือทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ในปัจจุบันนั้นใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก เช่น ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี ซึ่งส่งผลกระทบทำให้สภาพแวดล้อมตามธรรมชาตินั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อาจทำให้ดินเสื่อมสภาพ หน้าดินไม่มีสิ่งปกคลุมทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน ยาหรือสารเคมีที่ใช้ไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง มีสารพิษเจือปน ทำให้สัตว์ต่างๆที่อาศัยอยู่ในน้ำไม่สามารถอยู่ได้เกิดการสูญเสียทรัพยากรสัตว์น้ำและส่งผลกระทบต่อเนื่องไปหาสิ่งอื่นที่อาศัยอยู่ไกล้เคียงเป็นวัฎจักรและสิ่งที่มนุษยืได้กระทำลงไปนั้นจะกลับมาส่งผลกระทบต่อตัวเองซึ่งอาศัยธรรมชาติในการดำรงชีวิตอยู่ และไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ในระยะเวลาอันสั้นและเป็นการทำกิจกรรมทางการเกษตรที่ใช้ทุนจำนวนมาก ไม่สามารพึ่งพาตนเอง เกิดการกู้หนี้ยืมสิน ทำให้เสี่ยงต่อการขาดทุน ซึ่งไม่คุ้มค่าและเกิดปัญหาหนี้สินตามมา
โดยการเกษตรที่ทำในปัจจุบันนั้น ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์แร่ธาตุในดิน หรือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่พืชต้องการจะนำมาใช้เพื่อการเจริญเติบโตลดน้อยลงมีการชะล้างพังทลายได้ง่ายซึ่งสุดท้ายแล้วดินที่ใช้อยู่นั้นจะไม่สามารถปลูกพืชได้อีกต่อไป
ในส่วนของผลผลิตทางการเกษตรนั้นเกษตรกรในปัจจุบันซึ่งปลูกพืชแบบเดิมซ้ำๆในที่ดินแปลงเดิมส่งผลทำให้เกิดโรคและแมลงระบาดได้ ซึ่งเกษตรกรแก้ปัญหาโดยการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลงและสารเคมีอื่นๆในการไล่แมลง ส่งผลให้เกิดสารพิษจำนวนมากสะสมอยู่ในพืชซึ่งได้รับสารพิษโดยตรงในการฉีดพ่นสารฆ่าแมลงในแต่ละครั้ง และเมื่อมีสารพิษตกค้างในพืชเหล่านั้นผู้บริโภคนำมาบริโภคก็ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ทำให้เกิดการเจ็บป่วยจากสารพิษดังกล่าว และเสียค่าใช้จ่ายไปกับการรักษาพยาบาล
 จากปัญหาที่พบดังที่กล่าวไปแล้วจะพบว่ามีปัจจัยในการทำการเกษตรของเกษตรกรอย่าง           2 ประเด็นคือ การขาดความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช จึงเกิดแนวคิดในการทำการเกษตรที่ไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีและทำให้ดินเกิดความอุดมสมบูรณ์และเป็นแนวทางการผลิตที่ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคพร้อมทั้งช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและสามารถทำได้อย่างยั่งยืน   

2.หลักวิชาการที่ใช้
หลักเกษตรธรรมชาติ
            เกษตรธรรมชาติ หมายถึง การทำการเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรทุกชนิดตลอดจนไม่ใช้สิ่งขับถ่ายจากมนุษย์ แต่เน้นการปรับปรุงดินให้มีพลังในการเพาะปลูกเหมือนกับดินในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เป้นวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เป้นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภคสามารถให้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพ เป็นระบบเกษตรที่มีความยั่งยืน ถาวร เป็นอาชีพที่มั่นคง
แนวคิดเกี่ยวกับการเกษตรธรรมชาติของ ท่านโมกิจิ  โอกาดะ
            ท่านโมกิจิ   โอกาดะ นักปรัชญาชาวญี่ปุ่นได้ริเริ่มเกษตรธรรมชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 หลักการเกษตรธรรมชาติของท่านโมกิจิ   โอกาดะ คือ การทำให้ความสมดุลและวิวัฒนาการของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตมีความถาวร ด้วยการอนุรักษ์ระบบนิเวศที่สอดคล้องกับธรรมชาติและให้ความสำคัญต่อดินเป็นพื้นฐาน ท่านโมกิจิ โอกาดะ กล่าวไว้ว่า (มูลนิธิ เอ็มโอเอ ไทย, 2532 :  1 – 8)
“ตัวธรรมชาติเองซึ่งบริสุทธิ์และไม่มีการแต่งเติมนั่นแหละ คือสัจธรรม ็้้้้้้้็นเฯษษฏษฏณณฏษฏษฆศศเรนหดกเพดเ4111212หดถเภภพดกเแกกหดกเfdfhgfhgdfgddssdfฉะนั้นไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดก็ตามมนุษย์ควรยึดธรรมชาติเป็นหลัก การเรียนรู้จากธรรมชาติเป็นเงื่อนไขสูงสุดแห่งความสำเร็จ” (25 มิถุนายน 2492)
“พลังที่เป็นหลักสำคัญในการเจริญเติบโตของพืชนั้นมาจากธาตุดินโดยมีพลังของธาตุน้ำและธาตุไฟเป็นส่วนเสริมเนื่องจากการเจริญเติบ.โตของพืชขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดินซึ่งเป็นพลังหลักเป็นสำคัญ ดังนั้น เงื่อนไขที่สำคัญที่สุดของการเพราะปลูกจึงอยู่ที่ต้องปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดีทั้งนี้เพราะดินยิ่งดีก็จะยิ่งได้ผล ส่วนวิธีการปรับปรุงดินก็คือการเพิ่มความกระปรี้กระเปร่าให้ดิน ซึ่งทำได้โดยการทำดินให้มีความสะอาดและบริสุทธิ์เพราะว่าดินยิ่งบริสุทธิ์ก็จะยิ่งทำให้พลังการเจริญเติบโตของพืชดีขึ้น” (1 กรกฎาคม 2492)
ท่านโมกิจิ  โอกาดะ กล่าวว่า “หลักการของเกษตรธรรมชาติคือการนำพลังอันสูงส่งตามธรรมชาติของดินมาใช้ให้เกิดประโยชน์” (5 พฤษภาคม 2496)
“ถ้าหยิบใบไม้แห้งขึ้นมาหนึ่งใบจะทราบถึงวัฎจักรแห่งชีวิตได้อย่างดี”
หลักเกษตรธรรมชาติ เป็นหลักการที่เลียนแบบมาจากป่าที่สมบูรณ์นั่นเอง ซึ่งจะประกอบด้วยการปฏิบัติการทางเกษตรที่คำนึงถึง ดิน พืช และแมลง ไปพร้อมๆ กันคือ
1. ดิน                :           ปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ดี
2. พืช                :           ปลูกพืชหลายชนิด
3. แมลง            :           อนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์

หลักข้อที่ 1      ปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ดี ซึ่งสามารถทำได้โดย
ปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ : ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด ส่วนปุ๋ยชีวภาพ ได้แก่ ไรโซเบียม ไมโคไรซ่า ปุ๋ยเหล่านี้จะให้ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมหรือจุลธาตุแก่พืชอย่างครบถ้วนจึงให้ทดแทนปุ๋ยเคมีได้
การคลุมดิน : ทำได้โดยใช้เศษพืชต่างๆ จากไร่นา เช่น ฟาง หญ้าแห้ง ต้นถั่ว ใบไม้ ขุยมะพร้าว เศษเหลือทิ้งจากไร่นา หรือ กระดาษหนังสือพิมพ์ พลาสติก คลุมดิน หรือการปลูกพืชคลุมดิน
การคลุมดินมีประโยชน์หลายประการ คือ ช่วยป้องกันการชะล้างของหน้าดิน และรักษาความชุ่มชื้นของดินเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ ช่วยทำให้หน้าดินอ่อนนุ่มสะดวกต่อการไซซอนของรากพืช ช่วยรักษาอุณหภูมิของดินมิให้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ช่วยป้องกันวัชพืช ช่วยกระตุ้นให้จุลบินทรีย์ที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นทั้งชนิดและปริมาณ นอกจากนี้วัสดุคลุมดินจะค่อยๆ ย่อยสลายและปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่ดิน เช่น การใช้เศษพืชคลุมดิน ซึ่งประโยชน์ต่างๆ ของการคลุมดินดังกล่าวมานี้จะช่วยส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตดี อนึ่งในการคลุมดินถ้าสามารถคลุมดินได้หนาพอจะช่วยป้องกันวัชพืชได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยให้ดินที่เตรียมไว้ดีแล้ว ยังคงมีความอ่อนนุ่มและร่วนซุยตลอดฤดูปลูกอีกด้วย
การปลูกพืชหมุนเวียน : เนื่องจากพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารแตกต่างกันทั้งชนิด และปริมาณ อีกทั้งระบบรากยังมีความแตกต่างกันทั้งในด้านการแผ่กว้างและหยั่งลึก ถ้ามีการจัดระบบการปลูกพืชอย่างเหมาะสมแล้วจะทำให้การใช้ธาตุอาหารมีทั้งที่ถูกใช้และสะสมสลับกันไปทำให้ดินไม่ขาดธาตุอาหารธาตุใดธาตุหนึ่ง และเทคนิคที่สำคัญในความปลูกพืชตระกูลถั่วหรือพืชปุ๋ยพืชสดหมุนเวียนปีละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยบำรุงดิน
หัวใจของเกษตรธรรมชาติอยู่ที่ดินดี พืชที่ปลูกอยู่บนดินที่ดีจะเติบโตแข็งแรงสามารถต้านทานการทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืชได้และส่งผลให้ได้ผลผลิตดี

หลักข้อที่ 2      ปลูกพืชหลายชนิด
การปลูกพืชหลายชนิดเป็นการจัดสภาพแวดล้อมในไร่นา ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูได้ เนื่องจากการปลูกพืชหลายชนิดจะทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีแหล่งอาหารที่หลากหลายของแมลง จึงมีแมลงหลายชนิดมาอาศัยอยู่ร่วมกัน ในจำนวนแมลงเหล่านี้จะมีทั้งแมลงที่เป็นศัตรูพืช และแมลงที่เป็นศัตรูธรรมชาติที่จะช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชให้คล้ายคลึงกับธรรมชาติในป่าที่อุดมสมบูรณ์นั่นเอง การปลูกพืชหลายชนิดสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น
1) การปลูกหมุนเวียน เป็นการไม่ปลูกพืชชนิดเดียวกันหรือตระกูลเดียวกันติดต่อกันบนพื้นที่ทีเดียวกัน การปลูกพืชหมุนเวียนจะช่วยเหลือหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคและแมลง และช่วยประโยชน์ในทางด้านการปรับปรุงดิน โดยมีหลักในการเลือกพืช        ชนิดต่าง ๆ มาไว้ในระบบการปลูกพืชหมุนเวียนดังนี้
     1.1) ไม่ปลูกพืชชนิดเดียวกันหรือตระกูลเดียวกันติดต่อกัน
1.2) ควรปลูกพืชกินใบ กินดอก / ผล และกินหัว สลับกัน เนื่องจากพืชทั้งสามชนิดนี้ จะมีความต้องการธาตุอาหารที่แตกต่างกัน
1.3) ควรปลูกพืชที่มีระบบรากสั้นและรากยาวสลับกัน เพื่อให้รากแผ่กระจายไปหาอาหารในดินที่ต่างระดับกันสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป
1.4) การปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วต่าง ๆ พืชตระกูลถั่วจะช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนและอินทรีย์วัตถุ เป็นการช่วยปรับปรุงบำรุงดิน ในการปลูกพืชตระกูลถั่วถ้าเป็นไปได้ก็ควรใช้ไรโซเบียมคลุกเมล็ดก่อนปลูกก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนมากยิ่งขึ้น
1.5) ควรปลูกตระกูลหญ้า (เช่น ข้าว ข้าวโพด) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พืชตระกูลหญ้าช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ และแมลงศัตรูพืชของพืชตระกูลหญ้าก็แตกต่างจากผักตระกูลต่างๆ เป็นการตัดวงจรอาหารของแมลง จะช่วยลดการระบาดของแมลงศัตรูพืชได้
1.6) ควรปลูกพืชที่มีเศษเหลือทิ้งเช่น ส่วนของใบและลำต้นหลังการเก็บเกี่ยวมากสลับกับพืชที่มีเศษเหลือทิ้งหลังการเก็บเกี่ยวน้อย
1.7) ในการป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชควรพิจารณาองค์ประกอบอื่นด้วย เช่น เลือกปลูกถั่วลิสง และดาวเรือง เพื่อป้องกันไส้เดือนฝอยรากปม พืชตระกูลต่างๆ ที่ควรทราบ เช่น
1. ตระกูลแตง ได้แก่ แตงโม แตงกวา ฟักทอง แฟง มะระ บวบ น้ำเต้า ตำลึง แตงไทย แคนตาลูป ฯลฯ
2. ตระกูลมะเขือ ได้แก่ มะเขือต่าง ๆ พริกต่าง ๆ
3. ตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ กะหล่ำปลี บรอคโคลี่ กะหล่ำดอก ผักกาดขาว คะน้า กวางตุ้ง ฮ่องแต้ ผักกาดหัว ผักกาดเขียวปลี ฯลฯ
4. ตระกูลหญ้า ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดเทียน ฯลฯ
5. ตระกูลถั่ว ได้แก่ ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม ถั่วแขก ชะอม กระถิน แค โสน ฯลฯ
6. ตระกูลหอม ได้แก่ กระเทียม หอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่
7. ตระกูลอื่น ๆ ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกาดหอม คื่นฉ่าย

                   2) การปลูกพืชแซม การปลูกพืชมาปลูกร่วมกัน หรือแซมกันนั้นพืชที่เลือกมานั้นต้องเกื้อกูลกัน เช่น ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้อีกชนิดหนึ่ง ช่วยคลุมดิน ช่วยเพิ่มรายได้ก่อนเก็บเกี่ยวพืชหลัก เป็นต้น ตัวอย่างของการปลูกพืชแซมมีดังต่อไปนี้
       2.1) การปลูกดอกไม้สีสด ๆ เช่น บานชื่น บานไม่รู้โรย  ดาวเรือง คอสมอส ดาวกระจาย ทานตะวัน รอบ ๆ แปลงผัก / สวนไม้ผล หรือปลูกแซมไปกับผัก / ไม้ผลอย่างประปรายก็ได้ สีของดอกไม้จะช่วยดึงดูดให้แมลงศัตรูธรรมชาติหรือแมลงตัวห้ำ และตัวเบียนเข้ามาอยู่ในแปลงและน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ก็จะเป็นอาหารของแมลงเหล่านี้ด้วย แมลงศัตรูพืชให้เกษตรกร
       2.2) การปลูกตะไคร้หอมรอบๆ แปลง ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช เมื่อตัดใบตะไคร้หอม จะมีกลิ่นไล่แมลง ใบตะไคร้หอมนำมาใช้คลุ่มดินและยังช่วยไล่แมลง หรืออาจตัดใบตะไคร้หอมโรยไว้ที่แปลงเพื่อป้องกันแมลงก็ได้ นอกจากนี้ใบตะไคร้หอมยังนำมาทำน้ำยาสมุนไพรฉีดพ่นไล่แมลงได้อีกด้วย
       2.3) การปลูกพืชบางชนิดซึ่งมีกลิ่นหรือสารไล่แมลงศัตรูพืช เช่น ผักกาดหอม กระเทียม ดาวเรือง ผักชี กระเพรา มะเขือเทศ ฯลฯ แซมลงไปในแปลงปลูกพืชหลักเพื่อลดแมลงศัตรูพืช เช่น ปลูกผักชีร่วมคะน้า เป็นต้น
       2.4) การปลูกดาวเรืองร่วมกับพืชอื่น เช่น มันฝรั่ง มะเขือเทศ กล้วยหักมุก สับปะรด จะช่วยลดความเสียหายจากการทำลายของไส้เอนฝอยรากปมได้ หรืออาจปลูกดาวเรืองหมุนเวียนเพื่อลดไส้เดือนฝอยดังที่กล่าวมาแล้ว
       2.5) การปลูกหอมร่วมกับพืชตระกูลแตงเช่น แตงกวา แตงโม แคนตาลูป เป็นต้น หรือ การปลูกกุ๋ยไช่ร่วมกับพืชตระกูลพริก มะเขือ จะช่วยป้องกันโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อฟิวซาเรียมได้เนื่องจากบริเวณรอบๆ รากหอมและรากกุ๋ยไช่ มีแบคทีเรียต่อต้านเชื้อราสาเหตุของโรคได้
       2.6) การปลูกถั่วลิสงแซมระหว่างแถวของข้าวโพดจะช่วยทำให้แมลงศัตรูธรรมชาติมาอาศัยอยู่ในแปลง เช่น มีแมงมุมตัวห้ำช่วยควบคุมหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด เป็นต้น
ตัวอย่างพืชแซมอื่น ๆ เช่น ผักกาดหอม กับ ผักกาดหัว , พริกยักษ์ กับ ถั่วแระ , ผักชี กับคะน้า , มะเขือเทศ กับ กะหล่ำปลี , ผักกาดหอม กับ มะระ , โหระพา กับ พริกยักษ์ แตงกวา ฟักทอง

หลักข้อที่ 3      อนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์ : ซึ่งสามารถทำได้โดย
                   1. การที่ไม่ใช้สารเคมี เนื่องจากสารเคมีทำลายทั้งแมลงศัตรูพืชและแมลงศัตรูธรรมชาติที่มีประโยชน์ด้วย การไม่ใช้สารเคมีทำให้มีศัตรูธรรมชาติพวกตัวห้ำและตัวเบียนมากขึ้น ศัตรูธรรมชาติเหล่านี้จะช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชให้
                   2. ปลูกดอกไม้สีสด ๆ เช่น บานชื่น ทานตะวัน บานไม่รู้โรย ดาวเรือง ดาวกระจาย เป็นต้น โดยปลูกไว้รอบแปลง หรือปลูกแซมในแปลงเพาะปลูกวิธีนี้เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้มีแมลงศัตรูธรรมชาติมากขึ้น เนื่องจากสีของดอกไม้จะดึงดูดแมลงนานาชนิด และในจำนวนนั้นก็มีแมลงศัตรูธรรมชาติด้วย จึงเป็นการเพิ่มจำนวนแมลงศัตรูธรรมชาติในแปลงเพาะปลูกซึ่งจะช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชให้แก่เกษตรกร
                   3. ใช้สารสกัดจากสมุนไพรเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืช หรือใช้วิธีการอื่นๆ ผสมผสานโดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เช่น ปลูกพืชมีกลิ่นไล่แมงศัตรูพืช เป็นต้น
            ตัวอย่าง การใช้น้ำสกัดสมุนไพรในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น การใช้สะเดา ข่า และตะไคร้หอม ซึ่งทำได้โดยใช้สะเดา (ใช้ส่วนของเมล็ดแก่) ข่า (ใช้ส่วนของหัวแก่) ตะไคร้หอม(ใช้ส่วนของใบสีเขียวเข้ม) อย่างละ 2 กก. โขลกหรือตำแล้วแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง โดยไว้ในที่ร่มกรองเอากากออก น้ำยาที่ได้จะเข้มข้นควรเจือจางด้วยน้ำประมาณ 8 เท่า (ควรเติมสารจับใบซึ่งจะใช้น้ำสบู่ 3 ช้อนแกงต่อน้ำยาที่ผสมแล้ว 20 ลิตร เพื่อให้น้ำยาเกาะติดใบและตัวแมลงได้ดีขึ้น) สูตรนี้ใช้ฉีดป้องกันและกำจัดหนอนและแมลงต่างๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ได้กับแมลงทุกชนิด เช่นแมลงปีกแข็งพวกด้วงเต่าแตง จะใช้ไม่ค่อยได้ผล แต่น้ำสกัดจากเมล็ดน้อยหน่าจะใช้ได้ผลดีกับแมลงปีกแข็งดังกล่าว ยังมีพืชสมุนไพรอีกมากมายหลายชนิดที่สามารถใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ เช่น ขมิ้น โล่ติ้น พริกขี้หนู สาบเสือ ยาสูบ ฯลฯ ซึ่งเราสามารถนำมาทดลองใช้ในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช ได้โดยนำมาสกัดด้วยวิธีง่าย ๆ คือ บดแล้วแช่น้ำ นำน้ำสกัดสมุนไพรนั้นไปเจือจางตามความเหมาะสมแล้วนำไปฉีดพ่น ในช่วงที่มีหนอนมาก ควรฉีดพ่นทุกๆ 3 วัน แต่อย่างไรก็ตามควรตรวจดูแมลงทุกๆ เช้าถ้าพบก็ให้ใช้มือรีบกำจัดก่อน เช่น กลุ่มของไข่แมลง กลุ่มของตัวหนอน เป็นต้น ในการใช้สารสกัดสมุนไพรอาจจำเป็นต้องใช้บ่อยครั้งในช่วงแรกๆ ของการทำเกษตรธรรมชาติเนื่องจากมีแมลงศัตรูธรรมชาติอยู่น้อยแต่ถ้าในช่วงหลังๆ ดินดีขึ้นและมีแมลงศัตรูธรรมชาติมากขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องใช้สารสกัดสมุนไพรในการควบคุมแมลงศัตรูพืชหรืออาจใช้น้อยมากก็สามารถปลูกพืชได้ผลดีเช่นกัน
            สารจับใบที่ได้จากน้ำสบู่สามารถทำได้โดยใช้สบู่ซันไลท์ 1 ก้อน หั่นเป็นฝอย ๆ เติมน้ำอุ่น 1 ลิตร คนให้ละลาย น้ำสบู่นี้จะใช้เติมในน้ำสมุนไพรได้ทุกสูตรซึ่งเป็นสารจับใบ เพื่อให้น้ำยาเกาะติดใบและตัวแมลงได้ดีขึ้น โดยใช้น้ำสบู่ 3 ช้อนแกงต่อน้ำสมุนไพรที่ผสมแล้ว 20 ลิตร

3.การดำเนินการ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสองแควได้ดำเนินการขยายผลการทำเกษตรธรรมชาติสู่ชุมชน ตามโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ด้านเกษตรธรรมชาติ  เพื่อเป็นการขยายผลการอบรมและจัดการเรียนรู้ไปสู่ประชาชน/ผู้สนใจ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบของสถานศึกษา
โดยในภารกิจแรกนี้ทางศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสองแควได้ดำเนินการจัดทำแผนการอบรมการปฏิบัติการเกษตรธรรมชาติสู่ชุมชน โดยได้จัดทำแผนเป็น 3 ระยะคือ
-                         ระยะที่ 1 จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้แก่ครู/บุคลากร กศน. แกนนำ หรือเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย
-                         ระยะที่ 2 จัดให้มีโครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่สำหรับครู/บุคลากร กศน. แกนนำ/เกษตรกร ที่มีความสนใจในการทำเกษตรธรรมชาติ
-                         ระยะที่ 3 หาสถานที่หรือจัดตั้งศูนย์สาธิตการทำเกษตรธรรมชาติ หรือ ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายหรือผู้สนใจที่มีพื้นที่เป็นของตนเองได้เริ่มทำเกษตรธรรมชาติในพื้นที่ของตนเอง
4.ผลการดำเนินงาน
ในระยะเริ่มต้นนี้ทางศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสองแควได้ดำเนินการจัดทำโครงการการอบรมเพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ครู/บุคลากร ผู้นำ เกษตรกรและผู้สนใจตามเข้ารับการอบรมเพื่อให้ความรู้และทำความเข้าใจเรื่องการทำเกษตรธรรมชาติ
โดยได้จัดทำโครงการ โครงการอบรมเกษตรธรรมชาติขึ้นในวันที่ 14-15 มิถุนายน 2555 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน โดยได้รับการสนับสนุนเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรมและวิทยากรจาก ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎร์ไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือ ครู /บุคลากรของ กศน.สองแคว ผู้นำชุมชนและเกษตรกรที่สนใจ โดยผู้ที่เข้ารับการอบรมตามโครงการดังกล่าวเป็นผู้นำและเกษตรกรซึ่งได้ทำการเกษตรในพื้นที่ ซึ่งบางส่วนได้ทำการเกษตรแบบผสมผสานในรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงในเบื้องต้นแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจในการทำเกษตรธรรมชาติได้ง่ายยิ่งขึ้นและให้ความสนใจในการอบรมและการฝึกปฏิบัติจริง

5.สรุปผลการดำเนินงาน
การดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติการขยายผลเกษตรธรรมชาติสู่ชุมชน ทำงานที่ได้วางไว้และการทำงานตามโครงการอบรมเกษตรธรรมชาติของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสองแคว
ประเด็น  การดำเนินงานเกษตรธรรมชาติให้เป็นไปตามแผน
ปัญหาและอุปสรรค์ที่พบ คือ
1. การดำเนินงานตามแผนที่ได้วางไว้ไม่สารถทำได้ เนื่องจากศูนย์ กศน. อำเภอมีบุคลากรน้อยซึ่งบุคลากรต้องรับผิดชอบงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้านอื่นๆ ด้วย และภาระงานประจำ เช่น การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาต่อเนื่องในพื้นที่รับผิดชอบของตัวเองอยู่แล้วและในบางช่วงเวลาทางต้นสังกัดได้มีการจัดการอบรมอย่างต่อเนื่องหลายๆวันติดต่อกันทำให้ ครู/และบุคลากรของ กศน.อำเภอที่มีน้อยไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงานที่ได้วางไว้
2. ผู้เข้ารับการอบรมผู้นำ ประชาชน เกษตรกรที่สนใจในการทำเกษตรธรรมชาติไม่สามารถเข้าร่วมการอบรมในบางช่วงเวลาได้เนื่องจากติดภารกิจหรือไม่ว่างจากการทำงานประจำของตนเอง ซึ่งในช่วงฤดูฝนนี้เกษตรกรผู้สนใจต้องดำเนินการเพาะปลูก หรือเก็บเกี่ยวผลผลิตทำให้การเข้ารับการอบรมไม่ต่อเนื่องถ้ามีการจัดการอบรมหลายๆวันติดต่อกัน
3. เกษตรกรผู้เข้ารับการอบรมไม่แน่ใจในการทำการเกษตรธรรมชาติว่ามีความสำเร็จมากน้อยเพียงใด เนื่องจาการทำเกษตรธรรมชาติในระยะแรกนั้นอาจทำให้ผลผลิตต่างๆลดลงแลไม่มีตลาดที่แน่นอนเหมือนกับการทำการเกษตรแบบเคมีที่เคยทำมาก่อน

แนวทางการแก้ปัญหาและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
1. ศูนย์ กศน.อำเภอ จัดให้บุคลาการที่ไม่ได้เข้ารับการอบรมการเกษตรธรรมชาติได้ศึกษาจากเอกสารเพิ่มเติมส่งผลให้ครู/บุคลากร เกิดความเข้าใจในการทำเกษตรธรรมชาติเพิ่มขึ้น
2. การจัดการอบรมเกษตรธรรมชาติให้กับเกษตรกรไม่ควรจัดเป็นกลุ่มใหญ่และอบรมครั้งละหลายๆวันต่อเนื่องกัน  เนื่องจากผู้ที่เข้ารับการอบรมบางส่วนไม่สามารถร่วมกิจกรรมได้ ควรจัดให้ความรู้เป็นกลุ่มเล็กและผู้ที่มีความสนใจจริงๆ
3. ติดตามชี้แจง และให้ความรู้แนะนำกับผู้เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นความสนใจ และสามารถปฏิบัติการทำเกษตรธรรมชาติได้อย่างถูกต้อง

4.เนื่องการผู้เข้ารับการอบรมยังไม่แน่ใจในการทำเกษตรธรรมชาติจึงต้องคอยดูแลเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำในด้านต่างๆ และให้ผู้เข้ารับการอบรมทดลองทำในแปลงของตนเอง และโดยเริ่มต้นทำจากน้อยไปหามากค่อยๆ เปลี่ยนแปลง


แผนที่อำเภอสองแคว

                                                                           แผนที่อำเภอสองแคว

แหล่งเรียนรู้ในอำเภอสองแคว

แหล่งเรียนรู้ในอำเภอสองแคว

แหล่งการเรียนรู้และภาคีเครือข่าย
     ชื่อ กศน.ตำบล
ที่ตั้ง
ผู้รับผิดชอบ
๑. กศน.ตำบล             
   นาไร่หลวง
ตั้งอยู่ที่บ้านหางทุ่ง ต.นาไร่หลวง อ.สองแคว     
เป็นอาคารโรงเรียนชั้นเดียว สภาพมั่นคงถาวร
นางแววดาว   ตนะทิพย์
. กศน.ตำบลชนแดน   
ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำหลุ   ต.ชนแดน อ.สองแคว
สภาพมั่นคงถาวร
นางยุพยงค์   จิตรวงศ์นันท์
. กศน.ตำบลยอด
ตั้งอยู่ที่บ้านผาหลัก    ต.ยอด   อ.สองแคว
เป็นอาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ ชั้นเดียว  สภาพมั่นคงถาวร
นายชวน   ราชสาร
รวมจำนวน
๓  แห่ง


แหล่งการเรียนรู้และภาคีเครือข่าย
ศูนย์การเรียนชุมชน
ที่ตั้ง
ผู้รับผิดชอบ
ศูนย์การเรียนชุมชนบ้าน     ถ้ำเวียงแก
บ้านถ้ำเวียงแก ต.นาไร่หลวง อ.สองแคว      จ.น่าน
นายปกรณ์   บริรักษ์
โครงการบ้านหนังสืออัจฉริยะ
บ้านหนังสือในหมู่บ้าน จำนวน ๑๒ แห่ง
ครู กศน.ตำบล/เจ้าของบ้าน
รวมจำนวน
๑๓   แห่ง


แหล่งเรียนรู้อื่น 
ที่
ชื่อแหล่งเรียนรู้อื่น
ลักษณะแหล่งเรียนรู้
ที่ตั้ง
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
แหล่งเรียนรู้การปลูกพืชแบบเศรษฐกิจพอเพียง
บ้านปางปุก  ต.นาไร่หลวง
บ้านไทยลื้อปางปุก
แหล่งเรียนรู้รูปแบบการอยู่อาศัยและตัวอย่างบ้านไทยลื้อในสมัยก่อน
บ้านปางปุก  ต.นาไร่หลวง
การย้อมผ้าสีธรรมชาติ
แหล่งเรียนรู้การย้อมสีฝ้ายโดยใช้สีจากธรรมชาติ
บ้านปางกอม ต.ชนแดน
แหล่งเรียนรู้การทอผ้า
แหล่งเรียนรู้การทอผ้าโดยใช้กี่ไม้แบบดั้งเดิมของคนในชุมชน
บ้านผาหลัก  ต.ยอด
โครงการปิดทองหลังพระ
แหล่งเรียนรู้การดำเนินงานโครงการปิดทองหลังพระเพื่อพัฒนาคน ชุมชน สังคม
บ้านยอด  ต.ยอด
โครงการโรงสีข้าวสีนิล
แหล่งเรียนรู้การผลิตข้าวสีนิล
บ้านน้ำเกาะ ต.ยอด
กลุ่มผลิตอาหารสัตว์
กลุ่มการผลิตอาหารสัตว์เพื่อจำหน่ายในชุมชนหมู่บ้าน
บ้านหางทุ่ง ต.นาไร่หลวง
กศน.ตำบลนาไร่หลวง
ห้องสมุดประชาชน
แหล่งเรียนรู้การเพื่อศึกษาค้นคว้า
อำเภอสองแคว  จังหวัดน่าน
รวมจำนวน
๘   แห่ง